รักษ์สุขภาพ - ตอนที่ 24 อาหารการกิน (2)

พฤกษาเคมี (Phytonutrient) คือสารเคมีทุกชนิดที่พืช (Plant) ผลิตขึ้น เพื่อปกป้อง (Protect) พืชจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา (Fungus), และเชื้อไวรัส รวมไปถึงการป้องกันมิให้แมลง (Insect) หรือสัตว์อื่นมากินตัวมันเอง มักมีสีจัดจ้าน (Bold) และมีกลิ่น (Odor) เฉพาะตัว

ในส่วนที่วงการแพทย์รู้จักคุณและโทษ (Pros and Cons) ของมัน ก็ตั้งชื่อเป็นวิตามิน หรือสารอาหาร (Nutrient) ต่างๆ ที่เราคุ้นหูกันอยู่แล้ว แต่ก็มีพฤกษาเคมีประมาณ 50,000 ถึง 130,000 ชนิด ที่วงการแพทย์ยังไม่รู้ถึงคุณและโทษ โดยมีกลุ่มใหญ่สำคัญสุด คือ โพลิฟีนอล (Polyphenol) ที่จุลินทรีย์ในลำไส้ (Intestinal microbiome) ใช้เป็นอาหารหลัก โดยมักมีสีม่วง (Purple) หรือแดงคล้ำ (Dark red) เช่น กาแฟ, ช็อกโกเลตดำ (Dark chocolate), และสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ในองุ่นแดง

นอกนั้น เป็นกลุ่ม แอลคาลอยด์ (Alkaloid) เช่น คาเฟอีน (Caffeine) ในกาแฟหรือชา และกลุ่มอื่นๆ ที่มีสารเคมีอยู่ในหัวบีทรูท (Beetroot), ไขมันของพืช เช่น ในอะโวคาโด (Avocado), สีเหลืองแกมส้ม เช่น ไลโคปีน (Lycopene) ในมะเขือเทศ, และสารประกอบที่มีกำมะถัน (Sulfur) มักมีกลิ่นเฉพาะ เช่นในกระเทียม (Garlic)

คนเราใช้พฤกษาเคมีมาแต่โบราณ (Ancient) โดยใช้เป็นยาพิษ (Toxin) บ้าน และเป็นยาสมุนไพร (Herb) พื้นบานบ้าง ซึ่งวงการแพทย์สามารถอธิบายได้บางส่วนในปัจจุบัน เช่น ซาลิซิน (Salicin) จากเปลือกต้นหลิว (Willow) ที่มีฤทธิ์ต่อต้าการออักเสบ (Inflammation) และบรรเทาปวด (Pain relief) ซึ่งต่อมากลายเป็นยาแอสไพริน (Aspirin)

นอกจากนี้ ยังมีสน (Pine) พิษชนิดหนึ่งในยุโรป ชื่อ Yew ซึ่งต่อมากลายยาเคมีบำบัด (Chemical therapy) ชื่อ แพคลิแทกเซล (Paclitaxel) ที่ใช้ในการรักษามะเร็ง (Cancer) หลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม (Breast), มะเร็งปอด (Lung), และมะเร็งรังไข่ (Ovary)

พฤกษาเคมีออกฤทธิ์แตกต่างกันไปตามประเภท (Type)  บ้างมีพิษ, บ้างเป็นสารก่อมะเร็ง, และบ้างก็รบกวนการดูดซึม (Absorption) สารอาหารอื่น เช่น สเตอรอลพืช (Plant sterol) รบกวนการดูดซึมของคอเลสเตอรอล (Cholesterol) กลายคุณสมบัติที่ดีไป ส่วนบางกลุ่มเช่น โพลิฟีนอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้

เส้นใย (Fiber) อาหาร ก็เป็นพฤกษาเคมี ที่มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า มีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับการลดการป่วย เป็นโรคเรื้อรัง (Chronic) รวมทั้งหลอดเลือด (Vascular) และมะเร็งต่างๆ

ส่วนกระบวนการ (Process) เก็บถนอม (Preserve) อาหาร มีผลต่อการออกฤทธิ์ของพฤกษาเคมี ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นประโยชน์ เช่น ไลโคปีน ในมะเขือเทศ ยังคงสภาพอยู่ได้ เมื่อถูกปรุงให้สุก (Cooked(  หรือเก็บถนอมในนานารูปแบบ และการต้ม (Boil) มันสำปะหลังเป็นการลดพิษของไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นต้น

การใช้ประโยชน์จากพฤกษาเคมี ทำได้โดยการตั้งใจกินอาหารธรรมชาติ (Organic) ทั้งพืชผัก, ผลไม้, ถั่ว (ทั้งเปลือกอ่อนและเปลือกแข็ง), และธัญพืชไม่ขัดสี (Whole grain) ในปริมาณมากและหลากหลาย (Variety) ในสีสัน, รสชาติ, และฤดูกาล

แหล่งข้อมูล 

  1. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. และ พญ. ดร. พิจิกา วัชราภิชาต (2566). Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ฟรีมาย์ พับลิชชิ่ง จำกัด.